1. การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง
การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง เทคโนโลยีด้านการศึกษารูปแบบใหม่ พร้อมเทคนิคและกลยุทธ์ที่นําไปใช้ได้จริง 272 หน้า ขนาด 170 x 220 x 14 มม น้ําหนัก 435 กรัม การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง เรียบเรียงขึ้นจากมุมมองและประสบการณ์ในการทํางานด้านการวิจัยและการผลิตสื่อบทเรียนอิเลิร์นนิงของผู้เขียน มุ่งเน้นการออกแบบบทเรียนให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะทางปัญญาได้อย่างลึกซึ้ง และเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถส่งเสริมการคิดขั้นสูง และการสร้างความรู้ด้วยตนเองตามทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยมีเนื้อหาและตัวอย่างที่สําคัญในการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอีเลิร์นนิง หลักการทฤษฎีการเรียนรู้ หลักการออกแบบการสอน แนวคิดการออกแบบอีเลิร์นนิงแบบกลยุทธ์การสอน และการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง หลักการออกแบบหน้าจอบทเรียน โปรแกรมสําหรับพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง การประเมินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและแนวโน้มการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงในอนาคต เหมาะสําหรับครู อาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาที่สนใจทางด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษา นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ นักออกแบบสื่อการศึกษา และผู้สนใจพัฒนาสื่อการศึกษา ----------- สารบัญ Chapter
01 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอีเลิร์นนิง Chapter
02 : บทเรียนอีเลิร์นนิง Chapter
03 : หลักการทฤษฎีการเรียนรู้ในการออกแบบบทเรียนอีเลิร์นนิง Chapter
04 : หลักการออกแบบการสอนสําหรับบทเรียนอีเลิร์นนิง Chapter
05 : บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบกลยุทธ์การสอน Chapter
06 : บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ Chapter
07 : อีเลิร์นนิงกับการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง Chapter
08 : หลักการออกแบบหน้าจอบทเรียนอีเลิร์นนิง Chapter
09 : โปรแกรมสําหรับพัฒนาอีเลิร์นนิง Chapter
10 : การประเมินบทเรียนอีเลิร์นนิง Chapter
11 : งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนอีเลิร์นนิงที่พัฒนาทักษะการคิด Chapter
12 : แนวโน้มการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงในอนาคต ----------- คํานิยม หนังสือเล่มนี้ ฉายภาพให้เห็นเส้นทางในการปฏิรูปอี้ลิร์นนิง (E-Learning Revolution) การปรับกระบวนทัศน์ การจัดการเรียนด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี การออกแบบการสอน (Instructional Design) ไปสู่การออกแบบการเรียน (Learning Design) ที่ผสมผสานการกําหนดเงื่อนไขการสร้างสิ่งแวดล้อม และการเตรียมพร้อมให้เกิดการเชื่อมโยงและต่อยอด ที่สนับสนุนผู้เรียนที่มีความแตกต่าง หลากหลาย ในการพัฒนาทักษะความคิดที่ข้ามพ้นการเรียนเพื่อรู้เนื้อหาสาระ แต่เป็นการเรียนที่รู้วิธีเรียน เรียนที่ฝึกวิชาคิด เรียนอย่างรอบรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง อีเลิร์นนิง จึงไม่มีวันหยุดนิ่ง -- รองศาสตราจารย์ ดร ใจทิพย์ ณ สงขลา -- หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย SE-ED(ซีเอ็ด)